งบดุล มีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Click to rate this post!
[Total: 1251 Average: 5]

ประเภทของงบดุล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. งบดุลแบบบัญชี งบดุลแบบบัญชีจะใช้ฟอร์มที่มีลักษณะคล้ายตัว T แบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือจะแสดงรายการของสินทรัพย์ ส่วนด้านขวามือจะแสดงรายการของหนี้สินและส่วนของเจ้าของขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบบัญชี มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด ประกอบด้วย บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 ทางด้านซ้ายมือให้เขียนรายละเอียดของสินทรัพย์แสดงรายการต่างๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่
ขั้นที่ 3 ทางด้านขวามือให้เขียนรายละเอียดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของที่กิจการมีอยู่ ขั้นที่ 4 รวมยอดทั้ง 2 ด้านให้เท่ากันและอยู่ในระดับเดียวกัน
2. งบดุลแบบรายงาน ขั้นตอนในการจัดทำงบดุลแบบรายงาน มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เขียนหัวงบดุล 3 บรรทัด คือ บรรทัดที่ 1 เขียนชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบดุล” บรรทัดที่ 3 เขียนวัน เดือน ปี ที่จัดทำงบดุล
ขั้นที่ 2 คือตอนบน ให้เขียนคำว่า “สินทรัพย์” และเขียนรายละเอียดต่าง ๆ ของสินทรัพย์ที่กิจการมีอยู่แล้วรวมยอดทั้งหมดของสินทรัพย์
ขั้นที่ 3 เขียนคำว่า “หนี้สินและส่วนของเจ้าของ” ต่อจากสินทรัพย์ให้แสดงรายการที่เป็นหนี้สินก่อนและตามด้วยรายการที่เป็นส่วนของเจ้าของ แล้วรวมยอดทั้งหมดของหนี้สินและส่วนของเจ้าของซึ่งจะมียอดเท่ากับสินทรัพย์ ข้อมูลที่ต้องนำเสนอในงบดุล ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การนำเสนองบการเงิน ได้กำหนดไว้ในย่อหน้า 35 โดยงบดุลนั้นต้องมีรายการที่แสดงจำนวนเงินทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
2. อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
3. สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
4. สินทรัพย์ทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินที่แสดงในข้อ 1 2 และ 3)
5. เงินลงทุนซึ่งบันทึกตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชีฉบับอื่น
6. สินทรัพย์ชีวภาพ
7. สินค้าคงเหลือ
8. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น
9. เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
10. เจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น
11. ประมาณการหนี้สิน
12. หนี้สินทางการเงิน (ไม่รวมจำนวนเงินในข้อ 10 และ 11)
13. หนี้สินและสินทรัพย์ภาษีเงินได้สำหรับงวดปัจจุบันตามที่กำหนดในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้
14. หนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (เมื่อมีการประกาศใช้)
15. ส่วนได้เสียของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยที่แสดงในส่วนของเจ้าของ
16. ทุนที่ออกจำหน่าย และสำรองต่างๆ ที่จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทใหญ่

ใส่ความเห็น

cachecache