หักณที่จ่ายค่าวิชาชีพ

สํานักงานบัญชี.COM » หักณที่จ่ายค่าวิชาชีพ 3 ภาษี หัก ณ ที่ จ่าย กี่ เปอร์เซ็นต์

Click to rate this post!
[Total: 11 Average: 5]

หักณที่จ่ายค่าวิชาชีพ

ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

หน้าที่ของผู้ประกอบการในการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กิจการต่าง ๆ เมื่อเริ่มดำเนินธุรกิจย่อมก่อให้เกิดทั้งรายได้ และค่าใช้จ่าย ทราบหรือไม่ ค่าใช้จ่ายบางประเภทกฎหมายกำหนดให้ผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษี และนำส่งให้กับกรมสรรพากร แต่ถ้าหากผู้จ่ายละเลยไม่หักภาษี และนำส่ง หรือ หักภาษีแล้วแต่ลืมนำส่ง ก็จะเกิดบทลงโทษตามกฎหมาย ดังนี้

1. ไม่ ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย และไม่ได้นำเงินภาษีที่ตนมีหน้าที่ต้องหักไปส่ง ผู้จ่ายเงินต้องรับผิดร่วมกับผู้มีเงินได้ในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวน เงินภาษีที่ไม่ได้หักและไม่ได้นำส่ง ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร

2. ต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร

3. กรณีผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ไม่ได้ยื่นรายการและนำส่งเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองพันบาท ตามมาตรา 35 แห่งประมวลรัษฎากร

สรุปความได้ว่า ผู้จ่ายที่ไม่ได้หัก จะต้องเสียภาษีแทนผู้มีรายได้ คือ

1. ภาษีที่ต้องหักและนำส่ง

2. เงินเพิ่ม (ดอกเบี้ย) ร้อยละ 1.5 ต่อเดือน

3. ค่าปรับอาญากรณีไม่ได้ยื่นแบบภายในกำหนด ค่าปรับไม่เกิน 2 พันบาท

รายจ่ายอะไรบ้างที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

ตามมาตร 3 เตรส

การจ่ายค่าใช้จ่ายรายหนึ่งๆ ตั้งแต่ 1 พันบาทขึ้นไป (ไม่รวมภาษี) ผู้จ่ายต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย และนำส่ง และกรณีสัญญาที่มีมูลค่า 1 พันบาทขึ้นไป แม้จะมีการแบ่งจ่ายแต่ละครั้งไม่เกิน 1 พันก็ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่า เป็นต้น ค่าใช้จ่ายที่ต้องหัก (ขอนำเสนอเฉพาะกรณีที่ต้องเจอบ่อย ๆ ) มีดังนี้

1. ค่านายหน้า,การรับทำงานให้(เฉพาะนิติบุคคล) หัก ร้อยละ 3

2. ค่าลิขสิทธิ์ หัก ร้อยละ 3

3. ดอกเบี้ย (ธนาคาร เฉพาะดอกเบี้ยพันธบัตร และหุ้นกู้) หัก ร้อยละ 1

4. เงินปันผล, ส่วนแบ่งผลกำไร หัก ร้อยละ 10

5. ค่าเช่าทรัพย์สิน หัก ร้อยละ 5

6. ค่าวิชาชีพอิสระ (หมอ,ทนาย,นักบัญชี) หัก ร้อยละ 3

7. ค่าจ้างทำของ ,รับเหมาก่อสร้าง หัก ร้อยละ 3

8. ค่าโฆษณา หัก ร้อยละ 2

9. เงินรางวัลจากการแข่งขัน,ชิงโชค หัก ร้อยละ 5

10. ค่าบริการ (ไม่รวมโรงแรม,ภัตตาคาร,ประกันชีวิต) หัก ร้อยละ 3

11. รางวัล ส่วนลด จากการส่งเสริมการขาย หัก ร้อยละ 3

12. เบี้ยประกันวินาศภัย หัก ร้อยละ 1

13. ค่าขนส่ง (ไม่ใช่สาธารณะ) หัก ร้อยละ 1

ค่าใช้จ่ายข้อ 1, 2, 3, 5, 6 ที่จ่ายให้มูลนิธิ สมาคม ให้หักภาษีในอัตรา ร้อยละ 10

การหักภาษี ณ ที่จ่ายจะต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย มาตรา 50 ทวิ ให้กับผู้ที่ถูกหักภาษี สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่

– บุคคลธรรมดา หักภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.3

– นิติบุคคล หักภาษี ตามแบบ ภ.ง.ด.53

มาตรา 70 ทวิ

กรณีผู้รับเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

รายได้มาตรา 40(2) – (6) เช่น ค่าที่ปรึกษา ค่านายหน้า ค่าลิขสิทธิ์ ดอกเบี้ย ค่าเช่าทรัพย์สิน ค่าวิชาชีพอิสระ ให้ หักภาษีเงินได้ ร้อยละ 15

เงินปันผล ส่วนแบ่งกำไร ให้หัก ร้อยละ 10

– ใช้แบบ ภ.ง.ด.54

ที่มา:sites.google.com/site/accgoodthai/

เทคนิคการค้นหาสำนักงานบัญชี ตามคำค้นนี้

สำนักงานบัญชี กำไลข้อเท้า หนองคาย
สำนักงานบัญชี นิติบุคคลอาคารชุด ศรีสะเกษ
รับทำบัญชี ส่งออกวัตถุอันตราย ตาก
รับทำบัญชี งานรับเหมา นครปฐม
รับทำบัญชี ส่งออกอาหารสัตว์ นครสวรรค์
รับทำบัญชี ai ภาษีเจริญ
รับทำบัญชี ยางรถยนต์ ตาก
สำนักงานบัญชี รองเท้าส้นสูง สระบุรี
รับทำบัญชี อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ นครนายก
สำนักงานบัญชี นาฬิกา บางกอกน้อย

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )
บทความแนะนำ หมวดหมู่: การบัญชี
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 144411: 75