บัญชีต้นทุนงานสั่งทำ คือ (Work Order Costing Account) ความหมายของการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ (Job order costing) สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้คำจำกัดความของการบัญชีต้นทุนงานสั่งทำไว้ว่า เป็นวิธีการบัญชีต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่รวบรวมข้อมูลตามประเภทของงาน สัญญาหรือคำสั่งผลิตแต่ละงานไว้ต่างหากจากกัน ส่วนใหญ่จะใช้วิธีการคำนวณต้นทุนประเภทนี้ในกิจการโรงพิมพ์ กิจการบริการซ่อมแซม อุตสาหกรรมต่อเรือ และอุตสาหกรรมก่อสร้าง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วลักษณะของสินค้าที่ผลิตจะถูกกำหนดโดยลูกค้า และจะดำเนินการผลิตก็ต่อเมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า ต้นทุนรวมของงานประกอบด้วย วัตถุดิบ ค่าแรงและค่าใช้จ่ายโรงงาน ซึ่งสามารถระบุเข้างานแต่ละงานได้โดยตรง ส่วนค่าใช้จ่ายโรงงานที่ไม่สามารถระบุเข้างานแต่ละงานได้โดยตรง จะถูกรวมเป็นต้นทุนของงานแต่ละงานโดยวิธีการปันส่วน
สรุป การบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง วิธีการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าตามที่ลูกค้าสั่ง เหมาะสำหรับกิจการที่รับจ้างทำการผลิตสินค้า ซึ่งสินค้าที่ผลิตจะมีลักษณะแตกต่างกันตามคำสั่งของลูกค้า การรวบรวมต้นทุนจะแยกตามชนิดของสินค้าที่ผลิต โดยสะสมต้นทุนตั้งแต่เริ่มผลิต จนเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเมื่อผลิตเสร็จแล้วจะส่งมอบให้ลูกค้าทันทีไม่มีการเก็บไว้เพื่อขายในภายหลัง การบันทึกบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ ในส่วนของการบันทึกบัญชีสำหรับระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำ จะเป็นการบันทึกโดยโอนต้นทุนวัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต เข้างานระหว่างทำตามปกติ
สำหรับกิจการที่เลือกใช้การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีแบบต่อเนื่อง (Perpetual) แต่ถ้ากิจการใดเลือกใช้การบันทึกบัญชีในระบบบัญชีแบบสิ้นงวด (Periodic) ก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกโอนบัญชีดังกล่าว การสะสมต้นทุน ตามระบบบัญชีต้นทุนงานสั่งทำนั้น กิจการจำเป็นต้องรวบรวมและสะสมข้อมูลต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นของงานแต่ละชิ้น หรือสินค้าแต่ละรุ่นไว้ใน “บัตรต้นทุนงานสั่งทำ” (Job order sheet) บัตรต้นทุนงานสั่งทำ บัตรต้นทุนงานสั่งทำ หมายถึง บัตรซึ่งใช้ในการบันทึกการเกิดขึ้นของต้นทุนการผลิตอันได้แก่ วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิต ของงานแต่ละงาน สินค้าแต่ละรุ่น โดยบัตรต้นทุนงานสั่งทำนี้ จะทำหน้าที่เป็นบัญชีย่อยของบัญชีงานระหว่างทำ กล่าวคือ ไม่ว่ากิจการจะรับงานจากลูกค้ามากน้อยเพียงใด กิจการก็จะมี “บัญชีแยกประเภทงานระหว่างทำ” เพียงบัญชีเดียว แต่จะมี “บัตรต้นทุนทุนงานสั่งทำ” ของลูกค้าแต่ละรายประกอบ
ดังนั้น ต้นทุนที่เกิดขึ้นในบัตรต้นทุนงานสั่งทำแต่ละใบเมื่อนำมารวมกันแล้ว จะต้องเท่ากับบัญชีคุมงานระหว่างทำ รายละเอียดที่ปรากฏในบัตรต้นทุนงาน โดยส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ชื่อลูกค้า ลักษณะและรูปแบบของงาน เลขที่งาน(ซึ่งจะมีการกำหนดเมื่อรับงาน) เพื่อความสะดวกในการจดบันทึก และค้นหาข้อมูล วันรับและส่งมอบงาน วันเริ่มและสิ้นสุดการผลิต และที่สำคัญคือ ข้อมูลต้นทุนแต่ละรายการ (วัตถุดิบทางตรง ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต)ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ ในบัตรต้นทุนงานสั่งทำยังต้องแสดงถึงข้อมูลเกี่ยวกับ ราคาขายซึ่งบางกิจการอาจใช้วิธีบวกเพิ่ม(Mark up) จากต้นทุน การผลิต กำไรขั้นต้น ตลอดจนกำไรสุทธิ

บัญชีต้นทุนงานสั่งทำ คือ ( Work Order Costing Account )
Click to rate this post!
[Total: 1458 Average: 5]