เจ้าหนี้เงินยืมกรรมการ คือ ( Payable to borrowers )

Click to rate this post!
[Total: 2035 Average: 5]

การดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs แหล่งเงินทุนที่ได้มาในการลงทุน เริ่มจากส่วนของเจ้าของกิจการ เครดิตจากเจ้าหนี้ เงินกู้ยืมจากกรรมการ และเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร เพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ และสำหรับแหล่งที่ใช้ไปของเงินทุน มีทั้งระยะสั้น ได้แก่ การให้เครดิตลูกหนี้ การสต็อกสินค้า ส่วนระยะยาว ได้แก่ การลงทุนในทรัพย์สินต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน เครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือ-เครื่องใช้ต่างๆ เป็นต้น

โดยในส่วนที่ต้องการวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือจากธนาคาร ก็จะมีประเภทวงเงินสินเชื่อที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้เงินว่าต้องการใช้ในการหมุนเวียนหรือลงทุนในทรัพย์สิน และจำนวนเงินที่ต้องการ หากเป็นการใช้เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนหรือเสริมสภาพคล่อง เช่น ให้เครดิตลูกค้า หรือสต็อกสินค้า ถือว่าเป็นการกู้ยืมระยะสั้น ธนาคารจะจัดประเภทวงเงินเป็นวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วงเงินโอ/ดี จำนวนที่จำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจ และหากเป็นการลงทุนซื้อทรัพย์สิน ธนาคารจะจัดประเภทวงเงินเป็นเงินกู้ โดยเบิกจ่ายเป็นเงินก้อนเพื่อไปซื้อทรัพย์สิน และผู้ขอสินเชื่อก็ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด ถือว่าเป็นการกู้ยืมระยะยาว ตามปกติทั่ว ๆ ไป
การกู้ยืมหรือขอวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินหรือธนาคาร นอกจากผู้ประกอบการที่ขอวงเงินสินเชื่อต้องมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ ที่ส่วนใหญ่ผู้ขอวงเงินสินเชื่อจะต้องมีทรัพย์สินเพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอกู้ยืม เช่น ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง นำมาจดทะเบียนจำนองไว้เป็นหลักประกัน ปัญหาก็คือ หากผู้ประกอบการดำเนินธุรกิจมาได้ระยะหนึ่งแล้ว และมีความต้องการเงินทุนเพิ่มตามวงจรธุรกิจ ซึ่งในแต่ละช่วงก็ต้องใช้เงินทุนเพิ่มไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้น ช่วงเติบโต และช่วงที่ต้องขยายธุรกิจ แต่ขาดหลักทรัพย์หรือไม่มีทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน เพื่อนำมาใช้เป็นหลักประกันในการขอวงเงินสินเชื่อ หรือนำทรัพย์สินของกิจการมาใช้เป็นหลักประกันหมดแล้ว แต่จำเป็นต้องขอวงเงินเพิ่มเพื่อขยายธุรกิจ หรือมีความจำเป็นต้องการเงินทุนเพื่อสร้างโอกาสในการทำกำไรเพิ่มขึ้น กิจการมีแนวโน้มการเติบโตอีก แต่ขาดกระแสเงินสด ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้จะเป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการในอดีต
แต่ในปัจจุบันนี้การแปลงสินทรัพย์ในทางธุรกิจ สามารถแปลงมาเป็นเงินทุนในการช่วยให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปตามเป้าหมายที่ตั้งใจไว้ได้ เช่น สามารถเปลี่ยนลูกหนี้การค้าเป็นเงินทุน นำเครื่องจักรที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ และอื่นๆ ที่เรายังไม่ทราบว่าสามารถนำมาแปลงเป็นเงินสดได้ หรือบางท่านอาจจะยังไม่ทราบว่าสามารถขอวงเงินสินเชื่อได้มากกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ใช้เป็นหลักประกัน หรือมีหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือให้ผู้ประกอบการสามารถขอวงเงินสินเชื่อได้โดยไม่ต้องหาหลักประกันเพิ่ม จนถึงการขอสินเชื่อในแบบที่ไม่ต้องมีหลักประกันก็ได้ การศึกษาข้อมูลเรื่องการแปลงสินทรัพย์เพิ่มเติมจึงอาจเป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะทำให้ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดธุรกิจได้อย่างทันท่วงที

ใส่ความเห็น

cachecache