สํานักงานบัญชี.COM » สัญญาจ้างทำของ คือ (Contract)

Click to rate this post!
[Total: 1244 Average: 5]

สัญญาจ้างแรงงาน และทำของ สัญญาจ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า นายจ้าง และ นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ ลักษณะของสัญญาจ้างแรงงานที่สำคัญ คือ
1. สัญญาจ้างแรงงานเป็นเอกเทศสัญญาอย่างหนึ่ง กล่าวคือ เป็นนิติกรรมสองฝ่ายระหว่างคู่สัญญา ฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายลูกจ้างที่มีการ บัญญัติไว้เป็นเอกเทศในลักษณะจ้างแรงงาน-จ้างทำของ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2. สัญญาจ้างแรงงานเป็น สัญญาต่างตอบแทนที่ก่อหนี้ให้แก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายโดยฝ่ายลูกจ้างมีหนี้ที่ จะต้องทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างมีหนี้ที่จะต้องจ่ายสินจ้าง ให้แก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงาน ซึ่งผลตามกฎหมายหากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งไม่ชำระหนี้อีกฝ่ายย่อมมีสิทธิ ที่จะไม่ชำระหนี้ได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามการจ้างแรงงานส่วนใหญ่จะใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงาน ที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ
3. สัญญาจ้างแรงงานไม่มีแบบหรือหลักฐานเป็นหนังสือ กล่าวคือ กฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องทำตามแบบหรือทำเป็นหนังสือ ฉะนั้นเพียงแต่ เจตนาของทั้งสองฝ่าตรงกัน ก็ถือว่าสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว
4. สัญญาจ้างแรงงานมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวของคู่สัญญากล่าวคือ คู่ สัญญาแต่ละฝ่ายจะโอนสิทธิ และหน้าที่ตามสัญญาจ้างแรงงานให้ผู้อื่นไม่ได้ นอกจากอีกฝ่ายหนึ่งจะยินยอม ในกรณีเมื่อลูกจ้างตายลง สัญญาจ้างแรงงานย่อมระงับ ทายาทจะสวมสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาไม่ได้ แต่สำหรับกรณีนายจ้างนั้น หากสัญญาจ้างแรงงานมีสาระสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคลผู้เป็นนายจ้าง สัญญาจ้างย่อมระงับไปเช่นกัน ข้อสังเกต สัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นความตกลงในการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญา นอกจากแรงงานก็ได้ สินจ้างในสัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นทรัพย์สินอื่นใด โดยไม่จำกัดเพียงแค่ ในรูปเงินตราเท่านั้น และ “ลูกจ้าง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึง ข้าราชการ และ ลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ กฎหมายแรงงาน กฎหมายแรงงาน หมายถึง กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างลูกจ้าง องค์การของนายจ้าง และองค์การของลูกจ้าง รวมทั้งมาตรการที่กำหนดให้นายจ้าง ลูกจ้าง และองค์การดังกล่าวต้องปฏิบัติต่อกันและปฏิบัติต่อรัฐทั้งนี้เพื่อให้การจ้างงาน การให้แรงงาน การประกอบกิจการ และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเป็นไปอย่างเหมาะสม โดยต่างได้รับประโยชน์ที่พอเพียงอันจะมีผลทำให้เกิดความสงบสุขความเจริญ ความมั่นคงแก่ทั้งนายจ้าง ลูกจ้างสังคม และเศรษฐกิจของประเทศเป็นสำคัญ กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้อง

กฎหมายแรงงานที่เกี่ยวข้องที่สำคัญและจำเป็นต้องใช้ มีดังนี้
2.1 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา 1 ลักษณะ 6 จ้างแรงงาน มาตรา 575 ถึงมาตรา 586 2.2 พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533
2.3 พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537
2.4 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กฎหมายว่าด้วยสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์


1. ลักษณะสำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาระหว่างบุคคลทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง โดยลูกจ้างตกลงทำงานให้นายจ้างและนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาลูกจ้าง ทั้งนี้นายจ้างกับลูกจ้างอาจตกลงกำหนดเงื่อนไขการจ้าง ระยะเวลาการจ้าง การทำงาน ค่าจ้างรวมทั้งผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ไว้อย่างไรก็ได้แต่ข้อตกลงนั้นจะต้องไม่ขัดหรือแตกต่างไปจากกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีงามของประชาชน เช่น จ้างผลิตยาบ้า ทำลายป่าหรือค้าประเวณี เป็นต้น
1.1 สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อลูกจ้างมีหน้าที่ทำงานให้นายจ้างตามที่นายจ้างสั่ง นายจ้างมีหน้าที่จ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างซึ่งอาจเป็นเงินตรา หรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ เพื่อตอบแทนการทำงานของลูกจ้าง ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานอยู่กับนายจ้าง และถ้าไม่มีการจ่ายค่าจ้างก็ไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน
1.2 สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะตัวของลูกจ้าง หรือมีสาระสำคัญอยู่ที่สัญญา กล่าวคือ เมื่อนายจ้างตกลงเลือกลูกจ้างคนใดเข้าทำงานกับตนแล้วนายจ้างก็ต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างให้เป็นตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ รวมทั้งปฏิบัติต่อลูกจ้างในเรื่องสิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายแรงงานกำหนดไว้ และหากนายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกทำงานแทนตนไม่ได้ถ้านายจ้างไม่ยินยอมพร้อมใจด้วย ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการฝ่าฝืนความยินยอมพร้อมใจนี้ คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ เช่น นายจ้างให้ลูกจ้างไปทำงานอีกบริษัทหนึ่งโดยลูกจ้างไม่ยินยอม แม้การทำงานของลูกจ้างในบริษัทใหม่จะเป็นงานลักษณะเช่นเดิมในสถานที่เดิมแต่ก็เป็นงานของบริษัทใหม่ ซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานให้แก่นายจ้างเดิม เช่นนี้ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาและเรียกว่าชดเชยจากนายจ้างจะกำหนดรูปแบบของสัญญาหรือมีข้อความอย่างไรก็ได้
 
2. หน้าที่ของนายจ้าง
2.1 จ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ลูกจ้างตลอดระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้โดยนายจ้างต้องจ่ายสินจ้างให้ลูกจ้างตามกำหนดเวลาในสัญญาจ้าง หรือตามจารีตประเพณี ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาไว้ ให้จ่ายเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดจ่ายสินจ้าง
2.2 บอกกล่าวล่วงหน้าในการเลิกสัญญาจ้าง ถ้าสัญญาจ้างแรงงานมิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้ นายจ้างจะต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างทราบก่อนจะเลิกสัญญาหรือเลิกจ้าง และระยะเวลาในการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถือกำหนดเวลาจ่ายสินจ้างแต่ละคราวเป็นสำคัญ โดยจะต้องบอกให้ลูกจ้างทราบในวันจ่ายสินจ้างหรือก่อนวันจ่ายสินจ้างคราวนี้เพื่อให้ผลเลิกสัญญาเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้า ดังนั้นระยะเวลาการบอกกล่าวล่วงหน้าจะยาวนานเท่าใด ก็จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการจ่ายสินจ้างแต่ละครั้งนายจ้างนั้น แต่ถ้าระยะเวลาจ่ายสินจ้างมากกว่า 3 เดือน ก็ให้บอกกล่าวล่วงหน้าเพียง 3 เดือน อย่างไรก็ตามแต่ถ้าสัญญาจ้างแรงงานนั้นได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนแล้วนายจ้างก็ไม่ต้องแจ้งหรือบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างใด
2.3 ต้องออกใบสำคัญแสดงการทำงาน เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลงไม่ว่าจะสิ้นสุดลงเพราะนายจ้างเป็นฝ่ายเลิกจ้าง หรือลูกจ้างออกจากงานเองนายจ้างต้องออกใบสำคัญ หรือใบรับรองแสดงการทำงานให้แก่ลูกจ้างนั้น ซึ่งใบสำคัญแสดงการทำงานต้องมีข้อความระบุเกี่ยวกับเรื่องที่ลูกจ้างได้ทำงานมานานเท่าไร (วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำงาน และออกจากงานเมื่อใด) รวมทั้งงานที่ทำนั้นเป็นอย่างไร (ลักษณะงานของลูกจ้างเป็นงานอะไร)
2.4 ใช้ค่าเดินทางขากลับให้ลูกจ้างถ้านายจ้างไปว่าจ้างลูกจ้างมาจากต่างถิ่น (ต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ) และในการเดินทางเข้ามานายจ้างต้องออกค่าเดินทางให้ เมื่อการจ้างแรงงานสิ้นสุดลง นายจ้างต้องใช้เงินค่าเดินทางขากลับให้ เว้นแต่การจ้างแรงงานสิ้นสุดลงเพราะการกระทำของลูกจ้าง หรือเพราะความผิดของลูกจ้าง ถ้านายจ้างไม่ปฏิบัติต่อลูกจ้างให้ถูกต้องตามหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้วนี้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาแล้วเรียกค่าสินไหมทดแทนหากมีความเสียหายอย่างใดๆ เกิดขึ้นจากการกระทำของนายจ้าง
 
3. หน้าที่ของลูกจ้าง
3.1 ลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้างด้วยตนเอง โดยจะให้คนอื่นทำงานแทนไม่ได้ถ้านายจ้างไม่ยินยอม
3.2 ลูกจ้างต้องทำงานให้ปรากฏฝีมือพิเศษตามที่ได้รับรองไว้กับนายจ้าง
3.3 ลูกจ้างต้องไม่ขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร
3.4 ลูกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้นายจ้างทราบก่อนถึงวันที่ตนจะออกจากงาน หรือไม่ทำงานกับนายจ้างอีกต่อไป
3.5 ลูกจ้างต้องไม่ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง
3.6 ลูกจ้างต้องไม่ละเลยคำสั่งนายจ้างเป็นอาจิณ
3.7 ลูกจ้างต้องไม่ละทิ้งการทำงานไปเสีย
3.8 ลูกจ้างต้องไม่กระทำความผิดอย่างร้ายแรง
3.9 ลูกจ้างต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต
4. ความระงับของสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างแรงงานระงับไปด้วยสาเหตุต่างๆ ดังนี้
4.1 เมื่อคู่สัญญาตกลงเลิกสัญญา หรือคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญา
4.2 นายจ้างตายในกรณีที่สาระสำคัญของสัญญาอยู่ที่นายจ้าง
4.3 ลูกจ้างตาย
4.4 สัญญาจ้างแรงงานระงับเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้าง สัญญาจ้างทำของ สัญญาว่าจ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคล หนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
 
สาระสำคัญของสัญญาจ้างทำของมีดังนี้
1. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาต่างตอบแทน กล่าว คือ ผู้รับจ้างจะต้องทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างต้อง ให้สินจ้างเพื่อผลงานนั้น ทั้งนี้สินจ้างดังกล่าวอาจเป็นเงินตราหรือทรัพย์สินอย่างอื่นก็ได้ตามแต่ จะตกลงกัน
2. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ กล่าวคือ วัตถุประสงค์ของสัญญาจ้างทำของ คือ “ผลสำเร็จของงาน” ไม่ใช่ต้องการ เฉพาะแต่แรงงานของผู้รับจ้างเท่านั้น เช่น จ้างก่อสร้างบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์ ติดกระจก ซ่อมหลังคาบ้าน จ้างตัดเสื้อผ้า หรือจ้างว่าความ เมื่อไม่ใช่การจ้างแรงงาน นายจ้างจึงไม่ต้อง รับผิดร่วมกับลูกจ้างในผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก ผู้รับจ้างจึงมีอิสระในการทำงาน มากกว่าลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน โดยที่ผู้รับจ้างไม่ได้อยู่ในความควบคุม บังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างไม่มีสิทธิจะสั่งงาน หรือบงการผู้รับจ้าง
3. สัญญาจ้างทำของเป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดง เจตนาตกลงกัน แม้ด้วยวาจาก็สามารถ ฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด

เทคนิคการค้นหาสำนักงานบัญชี ตามคำค้นนี้

สำนักงานบัญชี ลดน้ำหนัก ระนอง
รับทำบัญชี ร้านอาหาร อุบลราชธานี
รับทำบัญชี สร้าง googlemybusiness ดินแดง
สำนักงานบัญชี ผ้าพันคอและผ้าคลุมไหล่ เชียงใหม่
รับทำบัญชี arttoy โคราช
สำนักงานบัญชี ตกปลา อ่างทอง
สำนักงานบัญชี ชุดโยคะ คันนายาว
สำนักงานบัญชี ชุดเข้าเซท ราชบุรี
รับทำบัญชี กิ๊ฟช็อป สายไหม
สำนักงานบัญชี น้ำอัดลม ป้อมปราบศัตรูพ่าย

Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)

We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.

We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.

Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.

Contact : 084-343-8968 ( Chaniyada )
บทความแนะนำ หมวดหมู่: การบัญชี
จำนวนคอมเมนต์ของโพสต์ ID 1973: 129