ภาษีซื้อต้องห้าม หมายถึง ภาษีซื้อที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่สามารถนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหรือนำมาขอคืนภาษีซื้อ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดลักษณะของภาษีซื้อต้องห้ามไว้ในมาตรา 82/5 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่17) ดังนี้ ลักษณะภาษีซื้อต้องห้าม
1. ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
- (1) ไม่มีใบกำกับภาษี เนื่องจากผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการไม่ออกใบกำกับภาษี หรือออกใบกำกับภาษีแต่ระบุชื่อบุคคลอื่น
- (2) มีใบกำกับภาษีแต่ไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อเป็นกรณีที่ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการจริง แต่ไม่อาจแสดงต่อเจ้าพนักงานสรรพากรได้
2. กรณีใบกำกับภาษีซื้อมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
ใบกำกับภาษีที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปและต้องมีข้อความตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร หากใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด ภาษีซื้อนั้นถือเป็นภาษีซื้อต้องห้าม ดังนั้น ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มควรตรวจสอบใบกำกับภาษีว่ามีรายการครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ ก่อนที่จะรับมอบใบกำกับภาษีนั้น
3. ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้ ต้องเป็นภาษีซื้อที่จากรายจ่ายเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหากภาษีซื้อนั้นไม่เกี่ยวข้องกับกิจการหรือเพื่อหากำไรของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อต้องห้าม ถึงแม้ใบกำกับภาษีนั้นจะมีรายกานครบถ้วนตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรก็ตาม
4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อได้นั้น ต้องไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้
- (1) ค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ว่าจะจ่ายเพื่อการรับรองหรือให้บริการแก่บุคคลใด ๆ และ ไม่ว่าอำนวยประโยชน์แก่กิจการหรือไม่ก็ตาม เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน
- (2) ค่าสิ่งของหรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการตาม (1) และบุคคลอื่น
5. ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีเป็นภาษีซื้อที่ไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ ผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี มีดังนี้
- (1) บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- (2) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่อยู่นอกราชอาณาจักร และมีตัวแทนทำการออกใบกำกับภาษีในนานของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- (3) ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ทรัพย์สินถูกนำออกมาขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่นหรือโดยบุคคลอื่น
6. ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)
ภาษีซื้อตามประกาศอธิการบดีกรมสรรพากรที่กฎหมายไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อ มีดังนี้
- (1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และ ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรสามิต กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว หมายเหตุ : “รถยนต์นั่ง” คือ รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะถาวรด้างข้าง หรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่งทั้งนี้ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด “รถยนต์โดยสาร” คือ รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมากรวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน
- (2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้ หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
- (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อนำมาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อดังกล่าวให้มีสิทธินำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์นั้นนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภาษีซื้อนั้นเป็นภาษีซื้อต้องห้ามตั้งแต่ต้น
- (5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการในใบกำกับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
- (6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนดในใบกำกับภาษีที่ไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
- (7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (Copy) เป็นภาษีซื้อต้องห้าม แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจำนวนหลายฉบับและใบกำกับภาษีมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย
- (8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
- (9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด
- (10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปซึ่งรายการได้ถูกแก้ไขหรือถูกเปลี่ยนแปลง เป็นภาษีซื้อต้องห้าม เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบิดีกำหนด หมายเหตุ : การแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด – การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี พร้อมกับลงลายมือชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีกำกับการแก้ไข ทั้งนี้เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบล หรือแขวง อำเภอ หรือเขต หรือจังหวัดใหม่
- – การแก้ไขที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษีด้วยวิธีการประทับตรายางที่อยู่ที่ถูกต้องเพิ่มเติม ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ทางราชการได้ประกาศเปลี่ยนแปลงเลขที่บ้าน ชื่อถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัด หรือได้ทำการแบ่งเขตถนน หมู่บ้าน ตำบลหรือแขวง อำเภอหรือเขต หรือจังหวัดใหม่
- (11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือหรับโอนรถยนต์ที่ไม่ใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ครอบครองได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิด 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง
- (12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป ซึ่งมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรตามมาตรา 86/4 (2) แห่งประมวลรัษฎากร ไม่ได้พิมพ์ขึ้น หรือไม่ได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับเป็นภาษีซื้อต้องห้าม กรณีดังกล่าวไม่ให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด
เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำภาษีซื้อต้องห้ามมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบกำกับภาษีรวมทั้งต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ดังนี้ เบี้ยปรับจากการนำภาษีซื้อต้องห้าม! มาใช้คำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 2 กรณี
1. เบี้ยปรับ 1 เท่า
- ไม่มีใบกำกับภาษี หรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้
- ใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญตามที่กฎหมายกำหนด
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน
- ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
– ภาษีซื้อตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42) หากผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีข้างต้นไปคำนวณหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อกรมสรรพากรแล้ว ถือว่าผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ยื่นแบบแสดงรายการไว้ไม่ถูกต้อง หรือมีข้อผิดพลาดอันเป็นเหตุให้คำนวณภาษีซื้อในเดือนภาษีที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไป ให้เสียเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป ตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร
2. เบี้ยปรับ 2 เท่า
กรณีนำใบกำกับภาษีปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
หมายเหตุ :
- (1) ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า บุคคลใดเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีให้ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
- (2) ผู้ประกอบการที่นำใบกำกับภาษีปลอมมาใช้ในการเครดิตภาษี นอกจากต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้ว หากเจตนานำใบกำกับภาษีปลอม หรือใบกำกับภาษีที่ออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาใช้ในการเครดิตภาษีต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ง 2,000 บาท เงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน นับเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ไม่ให้เกินจำนวนภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง
ภาษีซื้อต้องห้าม
เมื่อประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบกิจการเจ้าของคนเดียวหรือแบบมีหุ้นส่วน หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ “ภาษีมูลค่าเพิ่ม” เพราะเจ้าของกิจการมีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร พร้อมทั้งมีหน้าที่ออกใบกำกับภาษีขายทุกครั้งให้กับลูกค้าที่มาซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการ (ซึ่งเราเรียกว่า “ภาษีขาย” ) และขอใบกำกับภาษีซื้อทุกครั้งที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ซึ่งเราเรียกว่า “ภาษีซื้อ”) เพื่อนำมาคิดคำนวณและยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มต่อสรรพากรได้อย่างถูกต้องในทุกๆเดือน
ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความเข้าใจและนำส่งรายการภาษีมูลค่าเพิ่มได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้น ในบทความนี้จึงนำเสนอความรู้เกี่ยวกับภาษีขายต้องห้าม ซึ่งเป็นข้อควรรู้และข้อพึงระวังสำคัญสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เป็นภาษีที่กรมสรรพากรจัดเก็บสำหรับผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านต่อปีโดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 7 (7%) ซึ่งผู้ประกอบการมีหน้าที่ยื่นรายการคำนวณภาษีในแต่ละเดือน โดยใช้หลักการสำคัญคือ
ภาษีมูลค่าเพิ่มต้องชำระ = ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
- – หากภาษีขาย < ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีสิทธิขอรับคืนภาษีซื้อเป็นเงินสดหรือรับเป็นเครดิตภาษีเพื่อนำไปชำระในเดือนถัดไปได้
- – หากภาษีขาย > ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการต้องนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากรเท่ากับส่วนต่างนั้นๆ
ภาษีซื้อสำคัญอย่างไร
หากพิจารณาจากสูตรคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระจะเห็นได้ว่า ภาษีซื้อมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวแปรสำคัญในการพิจารณาว่าผู้ประกอบการจะได้สิทธิขอรับภาษีซื้อคืนหรือต้องจ่ายส่วนต่างเพิ่มให้กับกรมสรรพากร ดังนั้นภาษีซื้อที่นำมาหักออกจากภาษีขายจะต้องถูกกฏหมายและไม่เข้าข่ายภาษีซื้อต้องห้าม ดังต่อไปนี้
ภาษีซื้อต้องห้ามที่ควรรู้
- ใบกำกับภาษีซื้อที่ไม่มีใบกำกับภาษีตัวจริง หรือมีข้อความสาระสำคัญที่ไม่สมบรูณ์ โดยผู้ประกอบการเมื่อทำการซื้อสินค้าจากทางร้านที่จดภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องขอใบกำกับภาษีตัวจริงทุกครั้ง และต้องเป็นใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบระบุชื่อร้าน ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร รายการสินค้าและแสดงมูลค่าสินค้าอย่างชัดเจน
- ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง เช่น การซื้อของมอบให้พนักงาน การซื้อของเพื่อนำไปบริจาค เป็นต้น
- ภาษีซื้อที่เป็นรายจ่ายเพื่อการรับรองลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปหมายถึงค่าใช้จ่ายเพื่อการเอ็นเตอร์เทรน เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มของลูกค้า ที่ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับกิจการแต่เป็นไปโดยทางอ้อมและไม่สามารถพิสูจน์ได้
- ภาษีซื้อจากกิจการที่ไม่ได้จดภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกิจการใดๆที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับทางสรรพากรไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีและไม่สามารถนำมาหักออกได้ รวมทั้งผู้ประกอบกิจการที่อยู่นอกประเทศไทยที่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0%
- ภาษีซื้อจากการซื้อหรือ เช่าซื้อรถยนต์ รวมทั้งค่าประกัน ค่าบำรุงรักษาต่างๆที่เกิดขึ้น
ซึ่งทั้งหมดนี้คือลักษณะภาษีซื้อต้องห้ามที่ต้องพึงระวัง เพราะหากผิดพลาดนำภาษีซื้อต้องห้ามดังกล่าวมาหักออกจากภาษาขาย เพื่อลดหย่อยภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเพิ่มแล้ว จะมีความผิดตามกฏหมาย ต้องเสียเบี้ยปรับเพิ่ม 1 – 2 เท่า ตามแต่กรณี และอาจระวางโทษทั้งจำทั้งปรับหากเข้าข่ายยื่นใบกำกับภาษีปลอม ดังนั้นการศึกษา ทำความเข้าใจระบบภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งลักษณะภาษีต้องห้ามเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้ประกอบการไม่ควรมองข้าม
เทคนิคการค้นหาสำนักงานบัญชี ตามคำค้นนี้
รับทำบัญชี เครื่องสำอางค์ บุรีรัมย์รับทำบัญชี ร้านเค้ก สิงห์บุรี
รับทำบัญชี ของพรีเมี่ยม นราธิวาส
สำนักงานบัญชี น้ำยาเคลือบสีรถ พังงา
รับทำบัญชี อุปกรณ์ไฟฟ้า มีนบุรี
สำนักงานบัญชี น้ํายาเคลือบสีรถ ลพบุรี
สำนักงานบัญชี สวน บางกะปิ
สำนักงานบัญชี ไมโครเวฟและเตาอบ อยุธยา
รับทำบัญชี cleansingoil ฉะเชิงเทรา
สำนักงานบัญชี อิฐมวลเบา ยานนาวา
รับทำบัญชี โทร.081-931-8341 (คุณจ๋า)
Accounting in English (รับทำบัญชี ภาษาอังกฤษ)
We provide accounting services by preparing financial statements in English version. Our specialist team will collect your business's financial information in a strict, and simple manner.
We will issue useful financial statements, accurate, and efficient. You can make business decisions with confidence, and spend less time managing accounting work which is safe and reliable.
Whether you are a small or large business. Our services will be fully responsive to your needs and goals. We will support you in developing and growing your business.
- สํานักงานบัญชี.COM » เปรียบเทียบ ข้อดี ข้อเสีย ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- สํานักงานบัญชี.COM » ตัวอย่างผังบัญชี บริษัท มาตรฐานการบัญชี ล่าสุด
- สํานักงานบัญชี.COM » เจ้าหนี้การค้า คือ (Accounts Payble)
- สํานักงานบัญชี.COM » ภาษีธุรกิจเฉพาะค้างจ่าย คือ
- สํานักงานบัญชี.COM » ภาษีซื้อต้องห้าม (Prohibited purchase tax) คือ
- สํานักงานบัญชี.COM » รายรับรายจ่าย ภาษาอังกฤษ
- สํานักงานบัญชี.COM » บัญชีต้นทุน คือ (Cost Accounting)
- สํานักงานบัญชี.COM » ต้นทุนขาย คือ (Cost of sales)
- สํานักงานบัญชี.COM » แบบฟอร์มใบเสนอราคา eXCEL และ ใบเสนอราคา excel รวมภาษี
- สํานักงานบัญชี.COM » วงจรบัญชี คือ ( Account cycle )